หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2558

การตลาดออนไลน์ (E-Marketing) ต้องทำอย่างไร

การตลาดออนไลน์ (E-Marketing) ต้องทำอย่างไร

E-Marketing เป็นส่วนผสมแนวความคิดทางการตลาด และทางเทคนิค รวมเข้าไว้ด้วยกันทั้งด้าน การออกแบบ (Design) , การพัฒนา (Development) , การโฆษณาและการขาย (Advertising and Sales)
  • Online Marketing, Internet Marketing และ E-Marketing คืออะไร
  • แนวทางการทำ Online Marketing
  • Blog Marketing ทำการตลาดผ่าน blog
 การสร้างบล็อก (Blog Marketing )ให้ได้รับความนิยมมีส่วนประกอบสำคัญอะไรบ้าง

Content Marketing แนวทางดีๆ ในการตั้งชื่อบทความให้ดูน่าสนใจ



  • เนื้อหาที่ดี  กำหนดเป้าหมายของบล็อก
  • Keyword (คีย์เวิร์ด) คือ คำที่คนใช้ค้นหาสิ่งที่ต้องการ
  • Title คือ คำอธิบายตรงส่วนหัวของBlog 
  • Description คือ คำอธิบายย่อๆ ว่าBlog เราเกี่ยวกับอะไร
  • เขียนลิงก์ข้อความ (Text Link) 
  • ลิงก์รูปภาพ (Image Link)

การทำการตลาด E-Marketing จะมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

  • เป็นการสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายในลักษณะเฉพาะเจาะจง (Niche Market)
  • เป็นลักษณะเป็นการสื่อสารแบบ 2 ทาง (2 Way Communication)
  • เป็นรูปแบบการตลาดแบบตัวต่อตัว (One to One Marketing หรือ Personalize Marketing) ที่ลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมายสามารถกำหนดรูปแบบสินค้าและบริการได้ตามความต้อง การของตนเอง
  • มีการกระจายไปยังกลุ่มผู้บริโภค (Dispersion of Consumer)
  • เป็นกิจกรรมที่นักการตลาดสามารถสื่อสารไปยังทั่วทุกมุมโลก ตลอด 24 ชั่วโมง (24 Business Hours)
  • สามารถติดต่อสื่อสาร โต้ตอบ ปฏิสัมพันธ์ได้อย่างรวดเร็ว (Quick Response)
  • มีต้นทุนต่ำแต่ได้ประสิทธิผล สามารถวัดผลได้ทันที (Low Cost and Efficiency)
  • มีความสัมพันธ์กับกิจกรรมการตลาดแบบดั้งเดิม (Relate to Traditional Marketing)
  • มีการตัดสินใจในการซื้อจากข้อมูลข่าวสารที่ได้รับ (Purchase by Information)


การตั้งชื่อบทความ

1. สั้น กระชับ
ด้วยนิสัยของผู้บริโภคบนโลกออนไลน์ที่ทั้งใจร้อน และเบื่อง่าย การตั้งชื่อบทความให้สั้น กระชับ จึงสอดคล้องกับพฤติกรรมเหล่านั้นมากที่สุด โดยคำที่เลือกมาตั้งเป็นชื่อบทความนั้น ควรเป็นคำที่สามารถดึงดูดความสนใจของผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี และสร้างความรู้สึกน่าสนใจให้กับบทความได้
สำหรับท่านผู้ประกอบการท่านใดที่มี บทความเกี่ยวกับการแนะนำ ข้อควรระวังต่างๆ เกี่ยวกับบ้าน สถานที่ หรือสิ่งของต่างๆ ก็สามารถนำไปปรับใช้ให้เข้ากับธุรกิจของตนเองได้เช่นกัน 
2. ง่ายๆ ไม่ซับซ้อน
ชื่อบทความที่อ่านแล้วเข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน ก็ช่วยเพิ่มจำนวนผู้อ่านได้เช่นกันค่ะ เนื่องจาก ทำให้ผู้บริโภคเข้าใจสิ่งที่เราต้องการจะนำเสนอในทันที ตั้งแต่ครั้งแรกที่เห็น ซึ่งส่งผลให้ผู้บริโภคตัดสินใจได้ง่ายขึ้นว่าบทความนั้นมีประโยชน์ และเหมาะสม 
ซึ่งท่านผู้ประกอบการก็สามารถนำการตั้งชื่อบทความแบบนี้ไปประยุกต์ใช้กับ บทความแนะนำสินค้า สถานที่ท่องเที่ยวพักผ่อน หรือบริการต่างๆ ของธุรกิจเพื่อจูงใจผู้บริโภคให้คลิกอ่านบทความ และเลือกใช้บริการธุรกิจ 
 3. ใช้ตัวเลขเข้าช่วย
เบื้องต้นผู้บริโภคบนโลกออนไลน์จะอ่านข้อมูลต่างๆ แบบผ่านๆ มากกว่าตั้งใจอ่านอย่างละเอียด ซึ่งตัวเลขในชื่อบทความนั้นจะช่วยเรียกร้องความสนใจของผู้บริโภค และทำให้ผู้บริโภคประเมินได้ว่าต้องใช้เวลามากน้อยเพียงไหนในการอ่านบทความนั้นๆ หรือทำตามจุดประสงค์ในบทความ 
ซึ่งวิธีการตั้งชื่อบทความแบบนี้ ผู้ประกอบการก็สามารถนำไปปรับใช้กับ  บทความแนะนำสินค้า หรือเคล็ดลับต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง หรือเชื่อมโยงเกี่ยวกับสินค้า และบริการของธุรกิจ ได้เช่นกัน เช่น 7 สุดยอดเคล็ดลับ..., 5เทคนิค...ขั้นเทพ และ 10 ข้อห้าม... เป็นต้น 
4. ใช้คำเชิงปฏิเสธ
การใช้คำเชิงปฏิเสธ เช่น คำว่า “ห้าม หยุด อย่า ไม่ ไม่ต้อง” ก็เป็นอีกแนวทางที่ทำให้ชื่อบทความดูน่าสนใจ และสะกิดใจผู้บริโภคนะคะ เนื่องจากทำให้ผู้บริโภคเกิดรู้สึกหวาดกลัว หรือสงสัยใคร่รู้ จนอยากคลิกเข้าชมบทความ เพื่อหาสิ่งที่ถูกต้อง หรือวิธีปฏิบัติที่เหมาะสมในบทความนั้นๆ  เช่น
บทความ เรื่อง ไม่ต้องโกน ผมก็ดกได้ ของ ผลิตภัณฑ์ดูแลผมจีวา ที่ใช้คำเชิงปฏิเสธคำว่า “ไม่ต้อง” ในการตั้งชื่อบทความ ส่งผลให้ผู้บริโภคเกิดความสงสัยว่า หากไม่ต้องโกนผมแล้ว จะมีวิธีใดที่ช่วยแก้ไขปัญหาของตนเองได้ 
ซึ่งผู้ประกอบการท่านอื่น ก็สามารถนำการตั้งชื่อบทความแบบนี้ไปปรับใช้กับ บทความแนะนำสินค้าและบริการของธุรกิจได้ เช่น หยุดซื้อ...แพงได้แล้ว 
นอกจากนั้นแล้ว ผู้ผลิตบทความควรเลือกใช้คำที่เป็น keywords หรือ คำสำคัญที่เกี่ยวกับสิ่งที่ต้องการจะสื่อ ในชื่อบทความด้วย เนื่องจากผู้บริโภคจะได้สามารถพบเจอบทความได้บน Search Engine แต่ก็ไม่ควรใส่ keywords จนทำให้ชื่อบทความนั้นไม่มีความหมาย 
บทความที่ดีที่จะมีจำนวนผู้เข้าชม ยอด Like และ ยอด Share สูงนั้น ทุกองค์ประกอบของบทความต้อง
น่าสนใจ และจูงใจผู้บริโภคนะคะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ชื่อเรื่องและภาพประกอบ ที่เปรียบเสมือนประตูบานแรกของบทความ ที่จะพาผู้บริโภคไปสู่เนื้อหาภายในที่มีคุณค่า และเป็นประโยชน์ ซึ่งหาก
ชื่อเรื่องไม่มีพลัง ไม่ดึงดูดใจพอละก็ โอกาสที่ผู้บริโภคจะมองข้าม ไปจนถึงปิดบทความก็มีสูงมากเลยทีเดียว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น